Pattern

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Royal Thai Police

Image

บทความ

26 ธันวาคม. 2567
การสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม
การสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม

 

บทความโดย กรวรรณ คำกรเกตุ และอุนิษา เลิศโตมรสกุล

 

เด็กและเยาวชน เป็นช่วงวัยสำคัญที่จะเจริญเติบโตและพัฒนามาเป็นอนาคตของชาติ แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมกลับ พบว่า   มีอัตรา “เด็กและเยาวชนกระทำความผิดในอัตราที่สูงขึ้น” จากข้อมูลสถิติรายงานจำนวนคดีเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี พ.ศ. 2562 ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พบว่า มีจำนวนเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดและถูกจับกุม จำนวน 20,003 คดี  

ฐานความผิด คดีที่สามารถจับกุมได้ ร้อยละ
1. ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย 2,080 คดี 10.4
2. ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 2,620 คดี 13.1
3. ฐานความผิดเกี่ยวกับเพศ 880 คดี 4.4
4. ฐานความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
– ยาเสพติด
– อาวุธ และวัตถุระเบิด

10,082 คดี
860 คดี

50.4
4.3
5. ฐานความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขเสรีภาพ ชื่อเสียงและการปกครอง 500 คดี 2.5
 

ที่มา : สถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563

 

หากกล่าวถึง “เด็กและเยาวชนในฐานะเป็นผู้ประกอบอาชญากรรมหรือผู้กระทำผิด” การกระทำผิดอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัจจัยทางกายภาพ-ทางสังคม-ทางจิต ที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ “ปัจจัยทางจิต” ส่วนที่เหลือเป็นปัจจัยเสริม นอกจากนี้เด็กและเยาวชนยังเป็น “ช่วงวัยที่อยู่ในความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม” โดยมีลักษณะใหญ่ ๆ ประกอบด้วย

  1. การเป็นเหยื่อโดยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม
  2. การเป็นเหยื่อโดยมีส่วนยั่วยุหรือจูงใจให้เกิดอาชญากรรม
  3. การเป็นเหยื่ออาชญากรรมของตนเอง 

แนวคิดที่สามารถนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ในการป้องกันอาชญากรรมได้ 

  • แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทางอาชญาวิทยาในการป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน : ทฤษฎีความผูกพันทางสังคม (Social Bonding Theory) ของ ทราวิชเฮอร์ชิ (Hirschi’s, 1993) โดยมีสมมุติฐานว่า “บุคคลที่มีพันธะทางสังคมหรือมีความผูกพันทางสังคมน้อย จะมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมอาชญากรรม” จากตัวอย่างงานศึกษาวิจัยพบว่า เด็กและเยาวชนที่มีความรู้สึกผูกพันหรือเกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา ครอบครัว กลุ่มเพื่อน และระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคม จะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่ทำให้เด็กและเยาวชนไม่ไปกระทำความผิด ด้วยสภาวะที่มีความรู้สึกและตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมที่ตนเองอยู่ 
  • แนวคิดหรือหลักการในการปฏิบัติกับเด็กและเยาวชนเพื่อเป็นแนวทางการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ : ทฤษฎีระบบ (System Theory) ประกอบด้วย 3 สำคัญ คือ ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลงาน (Output) หรือผลผลิต (Product)
    ซึ่งจะนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) เพื่อให้สามารถเข้าถึงปัญหา แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยความถูกต้อง เหมาะสม รวดเร็ว และดำเนินการเป็นขั้นตอน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชนเป็นพลเมืองดีของสังคม

การป้องกันกระทำผิดของเด็กและเยาวชนและการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสังคม 

กระบวนการในการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชน ควรมองผ่านรูปแบบของทฤษฎีระบบ เพื่อเป็นตัวกำหนดแนวทางการนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติ และการเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยกระบวนการตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า (Input) จะต้องคำนึงถึงปัจจัย 4 ประการที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยครอบครัว ปัจจัยสถาบันการศึกษา และปัจจัยทางด้านชุมชน/สังคม ด้วยการผสมผสานแนวคิดของความผูกพันทางสังคม (Social Bonding) ในการกำหนดแนวทางเพื่อนำไปสู่แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชนที่เหมาะสมตามบริบทของชุมชน/สังคมของประเทศไทย ซึ่งการนำหลักการไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีนั้น ผู้ศึกษามองว่า “สถาบันการศึกษา/โรงเรียน” เป็นสถาบันหลักสำคัญในช่วงวัยของเด็กและเยาวชน เพราะเป็นสถาบันที่มีหน้าที่ในการหล่อหลอม ขัดเกลา และให้ความรู้เพื่อให้   เด็กและเยาวชนเป็นคนดีและเป็นอนาคตที่ดีของชาติ ขับเคลื่อนแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง และต้องดำเนินความร่วมมือหรือการบูรณาการจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานอิสระต่าง ๆ ด้วย

 

วารสารคุณภาพชีวิตกับนักกฎหมาย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2564 ISSN 1686-9443 (หน้า 1-16)

คลังความรู้ มาใหม่

26

ธ.ค.

2567

มัลแวร์ คือ อะไร

มัลแวร์ คือ อะไร

26

ธ.ค.

2567

ทำร้ายร่างกายไม่จบง่ายๆ แค่ 500

ทำร้ายร่างกายไม่จบง่ายๆ แค่ 500